5 สาเหตุทำให้สายตาสั้น

สายตาสั้น คือ ปัญหาเกี่ยวกับสายตาชนิดหนึ่ง เกิดจากภาวะความผิดปกติของสายตาที่ไม่สามารถรับแสงหักเหจากวัตถุที่มาโฟกัสตรงจอตาได้อย่างพอดี ส่งผลให้มองเห็นวัตถุดังกล่าวไม่ชัด อาจเกิดขึ้นเพียงข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้างก็ได้ และสายตาทั้ง 2 ข้างอาจจะสั้นไม่เท่ากัน สายตาสั้นจะมีอาการมองเห็นได้ชัดเจนในระยะใกล้ๆ แต่จะมองเห็นไม่ชัดในระยะไกลๆ มักเริ่มเป็นเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นหรือตอนที่อายุยังน้อย โดยสายตาจะค่อยๆ สั้นลงจนกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่ อีกทั้งมีแนวโน้มได้รับการถ่ายทอดภาวะนี้เป็นพันธุกรรม หรือมีสาเหตุมาจากพฤติกรรม ดังต่อไปนี้

1. ใช้สายตาในที่มืด

ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ หรือแม้แต่เล่นโทรศัพท์มือถือในที่มืด พฤติกรรมเหล่านี้จะทำให้กล้ามเนื้อตารอบดวงตาและม่านตาต้องทำงานหนัก มีความเสี่ยงสายตาสั้น หรือถึงขั้นเส้นประสาทตาถูกทำลาย

2. ใช้สายตาในการเพ่งมองมากเกินไป

พฤติกรรมการอ่านหนังสือ หรือเล่นโทรศัพท์มือถือในขณะที่รถกำลังวิ่ง จะทำให้สายตาต้องเพ่งตลอดเวลาตามแรงสั่นสะเทือนของรถที่วิ่ง จึงทำให้สายตาใช้งานหนักส่งผลทำให้สายตาสั้นได้

3. ใช้สายตามองสมาร์ทโฟน โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ แท็บแล็บ ฯลฯ ในระยะใกล้

การใช้สายตาจ้องวัตถุนานในระยะที่ใกล้มากๆ จะทำให้ดวงตาต้องทำงานหนัก ส่งผลทำให้มีอาการมึนหัวหรือปวดหัวได้

4. ใช้สายตาหนัก ไม่พักสายตา

ไม่ว่าจะเป็นการดูโทรทัศน์ จ้องจอคอมพิวเตอร์ จ้องจอมือถือ หรืออ่านหนังสือ นานๆโดยที่ไม่พักสายตา จะทำให้ดวงตาล้า ตาแห้ง ปวดหัว มองภาพไม่ชัด นานๆไปอาจจะส่งผลทำให้สายตาสั้นหรืออาจจะทำให้ประสาทจอเสื่อม ทำลายประสาทจอได้

5. เกิดจากกรรมพันธุ์

สายตาสั้นสามารถส่งต่อทางกรรมพันธุ์ได้ แต่คนที่เป็นสายตาสั้นที่ส่งต่อทางกรรมพันธุ์นั้นส่วนใหญ่จะมีสายตาที่สั้นมากๆ เป็นตั้งแต่กำเนิด สายตาสั้นขึ้นเร็วมากและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนสายตามากถึงระดับ 10D ขึ้นไป